ไลฟ์สไตล์แบบ ORGANIC FARMING
สิ่งหนึ่งที่ทำให้พวกเรารู้สึกตื่นเต้นมากๆในช่วงตอนที่เรากำลังจะย้ายมาอยู่ที่ญี่ปุ่นนั่นก็คือ
Organic Farming หรือ House Farming
หรือ การทำฟาร์ม และการได้ลองทานผักที่เราปลูกเองซึ่งดีตรงที่เป็นผักปลอดสารพิษที่เราพิถีพิถันดูแลด้วยตัวเอง
ก่อนที่จะย้ายมาอยู่ที่กรุงเทพ ตัวฉันเองเป็นคนญี่ปุ่นที่ใช้ชีวิตอยู่ในญี่ปุ่นที่ ซึ่งหากพูดถึงความปลอดภัยก็เรียกได้ว่ามาเป็นอันดับต้นๆ รวมไปถึงความสะอาดและปลอดภัยของอาหาร มันเลยเป็นการทำให้ตัวเราเองมองข้ามเรื่องพวกอาหารปลอดสารพิษ หรือความสะอาดไปเพราะคิดว่าที่ไหนๆก็ต้องสะอาดปลอดภัยเหมือนประเทศบ้านเกิดเราสิ
อาการอาหารเป็นพิษ หรือFood Poisoning เกิดขึ้นได้หากเราทานอาหารบางอย่างที่บูด เสียหรือ อาหารที่ปรุงไม่ถูกสุขลักษณะ ซึ่งสำหรับตัวฉันเองนั้นก็ได้เจอกับปัญหานี้ด้วยตัวเอง โดยที่ไม่ได้คาดคิดเลยว่าร้านอาหารในห้างจะทำให้ตัวเองป่วยด้วยสาเหตุอาหารเป็นพิษ!! ใช่แล้วละค่ะ ร้านอาหารในห้างนี่ละไม่ผิดแน่นอน และคาดว่าท่านผู้อ่านหลายๆท่านอาจจะเคยประสบปัญหาแบบนี้แน่นอน
ใครจะไปรู้ละว่าไอ้อาหารที่เราเอาเข้าปากนั้นเค้าเอามาจากไหน แล้วผ่านอะไรมาบ้าง กว่าที่มันจะกลายมาเป็นอาหารจานหนึ่งสำหรับเรานั้นเราไม่สามารถไปตามไปดูทุกขั้นตอน เราจะรู้อีกทีก็ต่อเมื่ออาหารมาอยู่ตรงหน้าเราแล้วเท่านั้น คือฉันอยากให้ร้านค้าควรจะใส่ใจตรงส่วนนี้กันนิดนึง
แต่การที่ฉันอาศัยอยู่ในประเทศไทยมันได้ทำให้ตัวเองได้รู้ว่า ระบบทางเดินอาหารของตัวเองไม่แข็งแรงเลยจริงๆ😮 ซึ่งนอกจากร้านอาหารตามห้างแล้วบางทีลองกินอาหารข้างทางก็ทำให้ท้องเสียได้เหมือนกัน (ซึ่งครั้งแรกที่เกิดอาการอาหารเป็นพิษนี่เกิดขึ้นเมื่อตอนที่ไปไต้หวัน) และมันก็เลยทำให้ตัวเราเองตัดสินใจว่าเราจะต้องกินอย่างระมัดระวังและมั่นใจว่าอาหารที่เรากินนั้นจะต้อง “สะอาดและปลอดภัย”
ต้องขออภัยที่เกริ่นถึงที่มาที่ไปของบทความนี้ซะยืดยาวนะคะ อะกลับมาต่อกันที่เรื่องหลักกันดีกว่า
พูดถึงตอนที่อยู่ประเทศไทย เราอาศัยอยู่ที่คอนโดซึ่งก็ได้ลองทำการปลูกผักหลายๆอย่างที่ริมระเบียงคอนโดแต่ที่รอดมาได้คือ ต้นอโวคาโด้ อย่างเดียว 😀 (คุณแฟนดูแลอย่างดีตั้งแต่ยังเป็นเมล็ด)
การที่ย้ายกลับมาอาศัยอยู่ที่ญี่ปุ่น นั้นถือเป็นโอกาสที่เราได้ เปลี่ยนแปลงตัวเอง และได้ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพ
โชคดีที่เรามีเนื้อที่ทอดยาวเลียบที่นาสำหรับทดลองทำฟาร์มใกล้กับบ้านที่เราอาศัยอยู่ ซึ่งพื้นที่ตรงนี้ทางเจ้าไม่ได้ใช้งานมาเกือบจะ 15ปีได้ และเค้าก็ใจดีให้เราได้ลองปลูกพืชผักตามต้องการ
แต่ทว่าไม่มีประสบการณ์!!
นอกจากต้นอโวคาโด้ และผักบางอย่างที่ปลูกที่ริมระเบียง แล้วเราทั้งคู่ไม่มีประสบการณ์ หรือความรู้อะไรในการปลูกผักหรือทำไร่เลย 😥
ในช่วงเมษาเป็นช่วงเข้าฤดูใบไม้ผลิ ร้านขายต้นไม้และอุปกรณ์ เริ่มวางขายต้นอ่อนของพืชพันธุ์หลายๆชนิด ซึ่งเมื่อเราเห็นแล้วเราก็ไม่รอช้ารีบซื้อพวกมันในทันทีแล้วก็พักมันไว้อยู่หลายวัน
ซึ่งสิ่งที่เราลืมทำเป็นอันดับแรกคือการเตรียมดินก่อนที่จะลงปลูก ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อยสองอาทิตย์ถึงจะเริ่มทำการนำต้นอ่อนลงดินได้!!
ในวันที่ท้องฟ้าสดใส เราเริ่มทำการถางหญ้าตรงพื้นที่ๆเจ้าของที่อนุญาติ พร้อมทั้งทำการขุดดิน พรวนดิน ซึ่งดินบริเวณนั้นค่อนข้างที่จะแข็ง แถมยังถูกคลุมไปด้วยวัชพืช และแมลงแปลกๆเป็นจำนวนมาก
เนื่องจากเราไม่มีรถไถพรวนดินเหมือนชาวไร่ชาวสวนที่ทำไร่ทำสวนกันเป็นอาชีพ อุปกรณ์ที่เราใช้นั้จึงมีแค่จอบ เสียม เก่าๆ ที่ตา กับยาย ใช้เมื่อนานมาแล้ว ซึ่งพอหันไปดูอุปกรณ์ที่ชาวนาที่เค้าเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกข้าวก็แอบอิจฉาเค้านิดๆเหมือนกัน
พอขุดดินลึกลงไปได้ซักนิดนึงก็พบเจอกับรากไม้ที่ค่อนข้างใหญ่และหนากระจายอยู่รอบๆพื้นที่ๆทำฟาร์ม ทำให้นึกถึงไอ้เจ้า ปีศาจต่างมิติที่กระจายรากของมันเพื่อส่ง Demogorgon ออกมาจู่โจมมนุษย์ ใน Stranger Things 2 ยังไงยังงั้น 😕
ซึ่งขั้นตอนนี้ทำให้เรารู้สึกอยากจะซื้อจอบไฟฟ้า หรือเครื่องไถดินที่ราคาก็ค่อนข้างสูงพอควร (ราคา ประมาณแสนเยนขึ้น) ซึ่งมันค่อนข้างที่จะเยอะเกินสำหรับการปลูกพืช ผัก เป็นงาน อดิเรก หรือการลองทำครั้งแรก แต่มันก็ทำให้เรารู้สึกว่าไอ้เจ้าเครื่องไถดินนั้นมันช่างวิเศษเหลือเกิน เพราะการขุดดินนั้นมันไม่ใช่เรื่องสนุกเลย
หลังจากขุดดินถอนหญ้า เสร็จ พอก้มลงมามองที่มือตัวเองก็พบว่ามือนั้นถึงกับพองเลยทีเดียว เจ้าพืชผักพวกนี้เติบโตบนเลือดหยาดเหงื่อ และน้ำตา ชัดๆ 😛
หลังจากที่ดินนั้นร่วนและนุ่ม และปลอดวัชพืชแล้ว เราก็โรยผงปูนขาวเพื่อปรับค่าpHในดิน ซึ่งไอ้เราก็พึ่งจะมารู้ว่าพืชผักนั้นชอบดินที่เป็นด่าง แล้วโดยส่วนมากดินที่ญี่ปุ่นนั้นส่วนมากจะมีฤทธิ์เป็นกรดซะส่วนมากเนื่องมาจากเพราะฝนที่มีฤทธิ์เป็นกรด สาเหตุมาจากปัญหาเรื่องชั้นโอโซน
ตอนที่เห็นเจ้าพวกวัชพืชที่ขึ้นกระจายบนพื้นที่ๆที่จะทำแปลงผักนั้น ทางเราถึงกับพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าต้องใช้เวลาในการปรับปรุงพื้นที่แน่ๆ
เราตากดินให้แห้งเป็นเวลา 1วัน หลังจากนั้นจึงผสมปูนข้าวลงไป
ปูนขาวใช้เวลาประมาณ 1สัปดาห์ในการทำปฏิกริยากับดิน (จริงๆแล้วขั้นตอนนี้เราต้องใช้เครื่องมือบางอย่างช่วยตรวจค่า pH ในดิน แต่ว่าเราข้ามขั้นตอนนี้ไปเนื่องจากเราขีเกียจ แฮะๆ แต่ครั้งหน้าเราอาจจะใช้เครื่องมือตรวจสอบ ถ้าหากการปลูกผักในครั้งนี้ล้มเหลว)
ต่อมาก็ผสมปุ๋ยกับดินเข้าด้วยกัน
ซึ่งการที่ต้องค่อยทำทีละขั้นตอนนี้ก็เพื่อที่ให้สารเคมีแร่ธาตุต่างมันค่อยๆทำปฏิกริยากัน ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นหากเราผสมทุกอย่างเข้าด้วยกันในทีเดียว
* * จริงๆมันจะมีปูนขาวบางชนิดที่สามารถใส่ผสมพร้อมกับปุ๋ยได้เลยเช่น ปูนขาวแมกนีเซียม ซึ่งเราใช้มันในแปลงถัดไป หลังจากที่เราทำการเตรียมดินของแปลงที่สอง ในวันถัดมา
เราใช้ปุ๋ยสองแบบ อย่างแรกคือปุ๋ยอเนกประสงค์ที่สามารถใช้กับพืชชนิดไหนก็ได้ และอย่างที่สองคือปุ๋ยมูลสัตว์ แล้วก็วัตถุประหลาดที่คล้ายๆใบไม้แห้งที่เจอในโรงรถ
เรารออีกสัปดาห์เพื่อให้ปุ๋ยทำปฏิกริยา
ในขณะนั้นต้นอ่อนซื้อมาก็เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วมาก
บางต้นเริ่มมีดอกไม้บานแล้ว
แต่เราก็ต้องรออย่างใจเย็น
เกือบ 3สัปดาห์หลังจากซื้อต้นอ่อนมา ในที่สุดก็ถึงเวลานำมันลงแปลง
ต้นอ่อน : ที่ซื้อมาอย่างละ 1ต้น
- ฟักทองขนาดเล็ก
- ฟักทอง
- ฟักสีทอง (คนละอย่างกับฟักทองนะคะ)
- ซุกินี่แบบกลม
- ถั่วลันเตา
- มะเขือม่วง
- แตงกวา
- มะระขี้นก
- Grape tomatoes
- มะเขือเทศ
- พริกหยวก
- พริกสองแบบ (โทะคาราชิ กับ ฮาลาปิโน่)
- เซลารี่
- หน่อไม้ฝรั่ง
- แตงโมสองแบบ
เมล็ดพันธุ์
- ผักชี
- ใบอ่อนหัวไชเท้า
- ผักโขม
- ดอกคอสมอส
นี่ก็เป็นภาพรวมของฟาร์มของเรา
เราปลูกแตงโมลงในแปลงที่เราผสมปุ๋ยมูลสัตว์ลงไป ซึ่งเราได้ยินมาว่าปลูกต้นแตงโมนั้นปลูกยากแต่มันจะโตได้ดีกับปุ๋ยมูลสัตว์
แปลงนี้จะเป็นแปลงที่เราจะไม่ทำการคลุมหน้าดินในการปลูกผัก ซึ่งจะมีเซลารี่ แอสพารากัส และวัชพืชที่โตขึ้นมาจากดิน(วัชพืชนี่ตายยากมากต้องหมั่นถอนออกทุกครั้ง)
ส่วนพืชอื่นๆเราจะทำการคลุมดินก่อนปลูกเพื่อเก็บความชุ่มชื้นในดินรวมไปถึง ป้องกันการเจริญเติมโตของวัชพืชด้วย
สุดท้ายก็ทำการปักเสาค้ำพร้อมกับยึดต้นไม้ไว้กับเสาเพื่อป้องกันไม่ให้ต้นไม้ล้มจากแรงลม
เราจะพยายามโพสความคืบหน้าเกี่ยวๆกับประสบการณ์การทำฟาร์มในญี่ปุ่นเรื่อยๆรอติดตามชมกันได้เลยนะคะ
🙂